ชื่อวิทยาศาสตร์
| |
ชื่อสามัญ
| |
ชื่อวงศ์
| |
ชื่ออื่นๆ
| |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
| เปลือก สีน้ำตาลอมเทา หนาขรุขระ แตกเป็นร่องตามทางยาวของลำต้น และหลุดลอกออกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 3 - 4 คู่ ออกตรงกันข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 5 - 6 เซนติเมตร ยาว 11 - 17 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเบี้ยว ขอบใบเรียบแผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบย่อยยาว 0.3 - 0.5 เซนติเมตร ดอก สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองแกมเขียว ขนาดเล็ก กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ เมื่อบานเต็มที่กว้าง 0.5 - 1.0 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นรูปแจกัน สีแดง ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียแผ่แบนคล้ายร่ม ผล ผลเดี่ยวขนาดใหญ่ กลม รูปไข่ ปลายมนเป็นพูตื้น ๆ สีน้ำตาล เปลือกหนาและแข็ง กว้าง 7 - 12 เซนติเมตร ยาว 10 - 16 เซนติเมตร ก้านผลแข็ง เมื่อแก่แตกออกเป็น 5 พู ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ด แห้งสีน้ำตาล แบนบาง มีปีกบาง ๆ กว้าง 1.0-1.2 เซนติเมตร ยาว 5.0-5.5 เซนติเมตร ปลิวไปตามลมได้ ประโยชน์ เนื้อไม้ทำเครื่องเรือน เครื่องดนตรี และเครื่องใช้อื่น ๆ เปลือกต้นต้มเป็นยาเจริญอาหาร มีแทนนินมาก รสฝาด ใช้เป็นยาสมานแผล ยาแก้ไข้ เนื้อในฝักเป็นยาระบาย เนื้อในเมล็ดมีรสขมมาก ใช้เป็นยาแก้ไข้จับสั่น ไข้พิษ และปวดศีรษะ ใบอ่อนและดอกรับประทานได้ มะฮอกกานี เป็นต้นไม้ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้นำเข้าจากต่างประเทศในคราวเสด็จประพาสยุโรป และนำไปปลูกครั้งแรกเมื่อ รศ.129 ที่ถนนราชดำเนิน ถนนดำรงรักษ์ ถนนราชดำริ และถนนบริพัตร จังหวัดเพชรบุรี |
ลักษณะทางนิวศวิทยา
|
ต้นมะฮอกกานี
วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557
ต้นมะฮอกกานี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)